แนวทางการเข้าสู่อาชีพ
- amonwongungbear
- 14 ส.ค. 2558
- ยาว 1 นาที

ประการแรก ต้องรู้จักตัวเอง โดยดูจากความชอบบุคลิกลักษณะ หรือความถนัดของตนเอง คงไม่มีใครรู้จักตัวเราเองดีเท่ากับตัวเรา อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเขาก็มีเครื่องมือสำหรับวัดบุคลิกภาพหรือความถนัด ซึ่งปกติงานที่คนเราทำจะเกี่ยวข้องกับข้อมูล (Data) บุคคล (Person) หรือเครื่องมือ (Tool) สำหรับบุคลิกภาพของคนเราจะมีความสัมพันธ์กับอาชีพ ตามทฤษฎีของ John L. Holland บุคลิกภาพจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ แบบจริงจัง (Realistic) แบบยึดระเบียบแบบแผน (Conventional) แบบกล้าเสี่ยง (Enterprising) แบบคิดวิเคราะห์ (Investigative) แบบมีศิลปะ (Artistic) และแบบชอบสังคม (Social)
ประการที่สอง ต้องรู้จักอาชีพที่มีแนวโน้มเติบโตในอดีต หลายคนมักจะเรียน โดยปราศจากหลักการ ไม่ยึดหรือไม่คำนึงถึงอาชีพที่จะต้องทำในอนาคต ขอเพียงเรียนให้จบหรือเลือกเรียนตาม "กระแสเพื่อน" เพื่อนเรียนอะไรที่สถาบันไหนก็ตามไปเรียนด้วย ซึ่งไม่ใช่หลักการเลือกเรียน ที่ดี ผู้ที่มีความพร้อมของข้อมูลอาชีพที่ดีมักจะตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาวิชาคณะหรือสถาบันการศึกษาที่ตนเองได้พิจารณาแล้ว และเมื่อตั้งใจเรียน จนสำเร็จการศึกษาก็มักจะได้งานทำไม่ต้องอยู่ในภาวะตกงานหรือว่างงาน เพราะฉะนั้นในข้อนี้จะขอแนะนำข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในอดีตที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
ประการที่สาม ต้องศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก ด้วยการหมั่นอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ค้นหาข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ท รายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการแรงงานโดยประเด็นที่ควรสนใจเป็นพิเศษ คือ อาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจสังคมของโลกและประเทศ สำหรับประเด็นที่กล่าวถึงกันมากในช่วงทศวรรษนี้เห็นจะได้แก่ การเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และโดยเฉพาะประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นด้วยและจากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจด้านการขนส่ง การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง คลังสินค้า การจัดการสินค้า การขนถ่ายสินค้า รวมถึงการทำพิธีการศุลกากร โดย TDRI คาดว่า ในปี 2548-2552 จำนวนผู้ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าสู่ระบบโลจิสติกส์ในปี 2548 มีจำนวน 240,850 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 272,329 คน ในปี 2552 และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาแล้ว พบว่าในระดับอาชีวศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์ ได้แก่ ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ สาขาวิชาในระดับปริญญาตรีจะอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์ ด้านภาษาประกอบด้วยภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส สังคมศาสตร์ พาณิชยการและกฎหมาย วิทยาศาสตร์ในสาขาคณิตศาสตร์และสถิติ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การบินและอากาศยาน เรือ ยานยนต์และขนส่ง สำหรับความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความต้องการจำแนกตามกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
ประการที่สี่ ต้องทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ข้อนี้มีหลักการง่ายๆ คือ "การจะเลือกประกอบอาชีพใด ควรดูจากรายได้ของประเทศว่ามาจากภาคเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมใด การจะเลือกประกอบอาชีพใดให้ดูจากรายได้หรือค่าตอบแทนแรงงานในอาชีพนั้น" แน่นอนว่าทุกคนหวังที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบ้าน มีรถและมีเงินทองสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่จึงควรติดตามและสังเกตุอาชีพรอบตัวที่พบเห็นในสังคม มีวิธีการอยู่วิธีการหนึ่ง เรียกว่า "การวิจัยอาชีพ" โดยผู้ที่สนใจที่จะประกอบอาชีพใดให้ทำการวิจัยด้วยการสำรวจอาชีพที่เราสนใจหรืออาชีพที่เราใฝ่ฝันไว้ และสอบถามจาก ผู้รู้ (Key Person) 3 คน คือ นายจ้าง ผู้ประกอบอาชีพนั้นอยู่และหน่วยงานผลิตกำลังคนหรือสถาบันการศึกษา ที่ออกแบบหลักสูตรการศึกษาต่างๆ เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีข้อมูลและทราบแนวโน้มสถานการณ์ สภาพการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่เราสนใจ เมื่อเราเก็บรวบรวมข้อมุลได้แล้วจึงนำมาสังเคราะห์และสรุปเพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจว่าเหมาะสมที่เราจะเรียนต่อในสาขาวิชานั้นๆ หรือไม่
Comments